...เมื่อไม่ได้พัฒนาที่จิตใจ จะพัฒนาด้านใดๆ ก็ไร้ผล การพัฒนาจึงต้องเริ่มที่ใจคนเพื่อเกิดผลพัฒนาที่ถาวร...

วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการรับรู้และการเชื่อมโยงความคิด(Apperception)

         บริหารการศึกษา กลุ่มดอนทอง52  (http://dontong52.blogspot.com/ ) ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่านักคิดคนสำคัญของกลุ่มนี้ คือ จอห์น ล็อค วิลเฮล์ม วุนด์ ทิชเชเนอร์ และแฮร์บาร์ด ซึ่งมีความเชื่อ ดังนี้
1) มนุษย์เกิดมาไม่มีทั้งความดี ความเลวในตัวเอง การเรียนรู้เกิดจากสิ่งแวดล้อม
2) จอห์น ล็อค เชื่อว่า การเรียนรู้เกิดจากบุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5
3) วุนด์ เชื่อว่า จิตมีองค์ประกอบ 2 ส่วน คือ การสัมผัสทั้ง 5 การรู้สึกและจินตนาการ
4) ทิชเชเนอร์เชื่อว่าจิตมีองค์ประกอบ 3 ส่วน คือ การสัมผัสทั้ง 5 การรู้สึก และจินตนาการ
5)  แฮร์บาร์ต เชื่อว่า การเรียนรู้มี 3 ระดับ คือ ขั้นการเรียนรู้โดยประสาทสัมผัส ขั้นจำ ความคิดเดิมและขั้นการเกิดความคิดรวบยอดและความเข้าใจ
6)  แฮร์บาร์ต เชื่อว่า การสอนควรเริ่มจากการทบทวนความรู้เดิมของผู้เรียนเสียก่อนแล้วจึงเสนอความรู้ใหม่

           สุริน ชุมสาย ณ อยุธยา (http://surinx.blogspot.com/) กล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า มนุษย์เกิดมาไม่มีทั้งความดีและความเลวในตัวเอง การเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากแรงกระตุ้นภายนอกหรือสิ่งแวดล้อม (neutral - passive) จอห์น ล็อค เชื่อว่าคนเราเกิดมาพร้อมกับจิตหรือสมองที่ว่างเปล่า (tabula rasa) การเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 การส่งเสริมให้บุคคลมีประสบการณ์มาก ๆ ในหลาย ๆ ทางจึงเป็นการช่วยให้บุคคลเกิดการเรียนรู้

            http://www.neric-club.com/data.php?page=3&menu_id=97  ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า การเรียนรู้เกิดจากแรงกระตุ้นภายนอกหรือสิ่งแวดล้อม(neutral - passive) การเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 (sensation) และความรู้สึก(feeling) คือ การตีความหรือแปลความหมายจากการสัมผัส การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จึงเน้นให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ผ่าน ทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ซึ่งจะช่วยให้ผู้ เรียนเกิดความเข้าใจได้เป็นอย่างดี

สรุป
          มนุษย์เกิดมาไม่มีทั้งความดีและความเลวในตัวเอง การเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากแรงกระตุ้นภายนอกหรือสิ่งแวดล้อม  การเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5  การรู้สึก และจินตนาการ   การเรียนรู้มี 3 ระดับ คือ ขั้นการเรียนรู้โดยประสาทสัมผัส ขั้นจำ ความคิดเดิมและขั้นการเกิดความคิดรวบยอดและความเข้าใจ  ซึ่งการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ซึ่งจะช่วยให้ผู้ เรียนเกิดความเข้าใจได้เป็นอย่างดี


 อ้างอิง

บริหารการศึกษา กลุ่มดอนทอง52.  จิตวิทยาการศึกษา.  [ออนไลน์].  เข้าถึงจาก :       
                     http://dontong52.blogspot.com/.  [ 2556,10 กรกฏาคม ].
สุริน ชุมสาย ณ อยุธยา.  ทฤษฎีและแนวคิดในการจัดการเรียนรู้.   [ออนไลน์].  เข้าถึงจาก :
                   http://surinx.blogspot.com/.  [ 2556,10 กรกฏาคม ].
ทฤษฎีการเรียนรู้.  [ ออนไลน์].  เข้าถึงจาก :   http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486.          
                   [2556, 10  กรกฏาคม]                                                             

ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการพัฒนาไปตามธรรมชาติ(Natural Unfoldment)


               บริหารการศึกษา กลุ่มดอนทอง52  (http://dontong52.blogspot.com/) นักคิดคนสำคัญในกลุ่มนี้คือ               รุสโซ ฟรอเบล และเพสตาลอสซี นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อ คือ
1) มนุษย์เกิดมาพร้อมกับความดี การกระทำใด ๆ เกิดขึ้นจากแรงกระตุ้นภายในตัวมนุษย์เอง
2) ธรรมชาติของมนุษย์มีความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้และพัฒนาตนเองหากได้รับเสรีภาพในการเรียนรู้ มนุษย์ก็จะสามารถพัฒนาตนองไปตามธรรมชาติ
3)รุสโซมีความเชื่อว่าเด็กไม่ใช่ผู้ใหญ่ตัวเล็ก ๆ เด็กมีสภาวะของเด็ก ซึ่งแตกต่างไปจากวัยอื่น การจัดการศึกษาให้เด็กจึงควรพิจารณาระดับอายุเป็นหลัก
4)รุสโซมีความเชื่อว่าธรรมชาติ คือ แหล่งความรู้สำคัญ เด็กควรจะได้เรียนรู้ไปตามธรรมชาติ คือ การเรียนรู้จากการปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ จากผลของการกระทำของตน มิใช่การเรียนจากหนังสือ หรือจากคำพูดบรรยาย
5) เพสตาลอสซี มีความเชื่อว่า คนมีธรรมชาติปนกันใน 3 ลักษณะ คือ คนสัตว์ คนสังคม คนธรรม
6) เพสตาลอสซี เชื่อว่า การใช้ของจริงเป็นสื่อการสอนจะช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ดี
7) ฟรอเบล เชื่อว่า ควรจะให้การศึกษาชั้นอนุบาลแก่เด็กเล็ก อายุ 3-5
8) ฟรอเบล เชื่อว่า การเล่นเป็นการเรียนรู้ที่สำคัญของเด็ก

สุริน ชุมสาย ณ อยุธยา (http://surinx.blogspot.com/ กล่าวว่า นักคิดคนสำคัญในกลุ่มนี้คือ                    รุสโซ (Rousseau) ฟรอเบล (Froebel) และเพสตาลอสซี (PestaloZZi) นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อ ดังนี้
1. ความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้
                - มนุษย์เกิดมาพร้อมกับความดี และการกระทำใดๆเกิดข้นจากแรงกระตุ้นภายในตัวมนุษยย์เอง
                - ธรรมชาติ ของมนุษย์มีความกระตือรือร้นที่จัดเรียนรู้และพัฒนาตนเองหากได้รับเสรีภาพในการเรียนรู้มนุษย์ก็จะสามารถพัฒนาตนเองไปตามธรรมชาติ
                - รุสโซ มีความเชื่อว่าเด็กไม่ใช่ผู้ใหญ่ตัวเล็กๆเด็กมีสภาวะของเด็ก ซึ่งแตกต่างไปจากวัยอื่น การจัดการศึกษาให้เด็กควรพิจารณาระดับอายุเป็นหลัก
                - รุสโซมีความเชื่อว่าธรรมชาติคือแหล่งความรู้สำคัญ เด็กควรจะเรียนรู้ตามธรรมชาติคือ การเรียนรู้จากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ จากผลของการกระทำของตน มิใช่การเรียนจากหนังสือ หรือจากคำพูดบรรยาย
                - เพส ตาลอสวี มีความเชื่อว่า คนมีธรรมชาติปนกันใน 3 ลักษณะ คือ คนสัตว์ซึ่งมีลีกษณะเปิดเผย เป็นทาสของกิเลส คนสังคมมีลักษณะที่จะเข้ากับสังคมคล้อยตามสังคม และ คนธรรมซึ่งมีลักษณะของการรับผิดชอบชั่วดี คนจะต้องมี การพัฒนาใน 3 ลักษณะ ดังกล่าว
                - เพสตาลอสซ เชื่อว่าการใช้ของจริงเป็นสื่อในการสอน จะช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ดี
                - ฟรอเบลเชื่อว่า ควรจะให้การศึกษาชั้นอนุบาลแก่เด็กเล็ก อายุ 3-5 ขวบโดยให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง
                - ฟรอเบลเชื่อว่า การเล่นเป็นการเรียนรู้ที่สำคัญของเด็ก
                2. หลักการจัดการศึกษา/การสอน
- การจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้แก่เด็กจะต้องมีความแตกต่างไปจากการจัดให้ผู้ใหญ่ เนื่องจากเด็กมีสภาวะที่ต่างไปจากวัยอื่นๆ
- การ จัดการศึกษาให้แก่เด็กควรยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง ให้เสรีภาพแก่เด็กที่จะเรียนรู้ตามความต้องการและ ความสนใจของตน เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้อย่างอิสระ
- ลักษณะการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมสำหรับเด็ก คือ การจัดให้เด็กได้เรียนรู้จากธรรมชาติ ได้แก่
                           1. ให้เด็กได้เล่นอย่างอิสระ
                           2. ให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง
                           3. ให้เด็กได้เรียนจากของจริงและประสบการณ์จริง
                           4. ให้เด็กได้เรียนรู้จากผลของการกระทำของตน
- การจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้เด็กจะต้องคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและความพร้อม  ของเด็ก

http://www.neric-club.com/data.php?page=3&menu_id=97 ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า  นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า ธรรมชาติคือแหล่งเรียนรู้สำคัญ เด็กควรจะได้เรียนรู้ไปตามธรรมชาติ การใช้ของจริงเป็นสื่อในการสอนจะช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ดี การเล่นเป็นการเรียนรู้ที่สำคัญของเด็ก เด็กไม่ใช่ผู้ใหญ่ตัวเล็กๆ เด็กมีสภาวะของเด็ก ซึ่งแตกต่างไปจากวัยอื่น การจัดการศึกษาให้เด็กจึงควรพิจารณาระดับอายุเป็นหลัก การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้แก่เด็กจะ ต้องมีความแตกต่างไปจากการจัดให้ผู้ใหญ่ และยึดเด็กเป็นศูนย์กลางให้เสรีภาพแก่เด็กได้เรียนรู้ตามความต้องการและความ สนใจของตน ให้เด็กได้เรียนรู้ตามธรรมชาติและเป็นไปตามธรรมชาติ โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและความพร้อมของเด็ก

สรุป
       มนุษย์เกิดมาพร้อมกับความดี การกระทำต่างๆ เกิดขึ้นจากแรงกระตุ้นภายในตัวของมนุษย์เองธรรมชาติของมนุษย์มีความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้และพัฒนาตนเอง หากได้รับเสรีภาพในการเรียนรู้มนุษย์ก็จะสามารถพัฒนาตนเองไปตามธรรมชาติ  ซึ่งธรรมชาติเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญ  เด็กจึงควรจะเรียนรู้ตามธรรมชาติ   คือการเรียนรู้จากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ และจากผลการกระทำของตนเอง เด็กมีความสามารถและกระบวนการเรียนรู้ที่แตกต่างจากผู้ใหญ่ การจัดการศึกษาให้เด็กจึงควรพิจารณาอายุเป็นหลัก  ควรให้เด็กได้เรียนรู้จากของจริง เป็นรูปธรรม ซึ่งการเล่นถือเป็นการเรียนรู้ที่สำคัญของเด็กเพราะเป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง การจัดการศึกษาให้เด็กควรยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง ให้เสรีภาพแก่เด็กที่จะเรียนรู้ตามความต้องการและความสนใจ เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้อย่างอิสระ

อ้างอิง
บริหารการศึกษา กลุ่มดอนทอง52.  จิตวิทยาการศึกษา.  [ออนไลน์].  เข้าถึงจาก :       
                   http://dontong52.blogspot.com/.  [ 2556,10 กรกฏาคม ].
สุริน ชุมสาย ณ อยุธยา.  ทฤษฎีและแนวคิดในการจัดการเรียนรู้.   [ออนไลน์].  เข้าถึงจาก :
                   http://surinx.blogspot.com/.  [ 2556,10 กรกฏาคม ].
ทฤษฎีการเรียนรู้.  [ ออนไลน์].  เข้าถึงจาก : http://www.neric-club.com/data.php?page=3&menu_id=97.  
                     [2556, 10  กรกฏาคม]

วันอาทิตย์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการฝึกจิตหรือสมอง (Mental Discipline)



ทิศนา  แขมมณี (2555:45-46) กล่าวว่า  ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการฝึกจิตหรือสมอง (Mental Discipline)               นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า จิตหรือสมองหรือสติปัญญา (mind) สามารถพัฒนาให้ปราดเปรื่องได้โดยการฝึก เช่นเดียวกับกล้ามเนื้อซึ่งจะแข้งแรงได้ด้วยการฝึกออกกำลังกาย ในการฝึกจิตหรือสมองนี้ทำได้โดยให้บุคคลเรียนรู้สิ่งที่ยากๆ ยิ่งยากมากเท่าไร จิตก็จะได้รับการฝึกให้แข็งแกร่งขึ้นเท่านั้นักคิดกลุ่มนี้มีแนวคิดออกเป็น 2 กลุ่มย่อย คือ (Bigge, 1964: 19-30)
        1. กลุ่มที่เชื่อในพระเจ้า (Theistic Mental Discipline)  นักคิดที่สำคัญของกลุ่มนี้คือ เซนต์ออกุสติน (St.Augustine)  จอห์น คาลวิน (John Calvin) และคริสเตียน โวล์ฟ (Christian Wolff)  นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อ ดังนี้
                   ความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้
1. มนุษย์เกิดมาพร้อมกับความชั่ว  และการกระทำใด ๆ ของมนุษย์เกิดจากแรงกระตุ้นภายในตัวของ     
มนุษย์เอง (bad-active)
2. มนุษย์พร้อมที่จะทำความชั่วหากไม่ได้รับการสั่งสอนอบรม
3. สมองมนุษย์นั้นแบ่งออกเป็นส่วน ๆ (faculties) ซึ่งหากได้รับการฝึกอย่างเหมาะสมจะช่วยทำให้เกิดความเข้มแข็ง สามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้
4. การฝึกสมอง หรือฝึกระเบียบวินัยของจิตเป็นสิ่งจำเป็นต่อการพัฒนาให้มนุษย์เป็นคนดีและฉลาด
                5. การฝึกฝนสมองให้รู้จักคิด  ต้องใช้วิชาที่ยากเช่น วิชาคณิตศาสตร์ ปรัชญา ภาษาลติน ภาษากรีก และคัมภีร์ไบเบิล เป็นต้น
        2.  ทฤษฎีของกลุ่มที่เชื่อในความมี่เหตุมีผลของมนุษย์ (Humanistic Mental Discipline) นักคิดคนสำคัญในกลุ่มนี้คือ พลาโต (plato) และอริสโตเติล (Aristotle) นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อดังนี้
                        ความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้
1. พัฒนาการในเรื่องต่าง ๆ เป็นความสามารถของมนุษย์ มิใช่พระเจ้าบันดาลให้เกิด
2. มนุษย์เกิดมามีลักษณะไม่ดีไม่เลว และการกระทำของมนุษย์เกิดจากแรงกระตุ้นภายใน     (neutral-active)
3. มนุษย์เป็นผู้มีเหตุผลพร้อมที่จะพัฒนาตนเอง มนุษย์มีอิสระที่จะเลือกทำความเข้าใจและหาเหตุผลของตน หากได้รับการฝึกฝนอบรมก็จะสามารถพัฒนาศักยภาพที่ติดตัวมามนุษย์มีความรู้ตั้งแต่เกิด แต่ถ้าขาด การกระตุ้นความรู้จะไม่แสดงออกมา

ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ(http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486) ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า     จิตหรือสมองหรือสติปัญญา(mind)  สามารถพัฒนาให้ปราดเปรื่องได้โดยการฝึก  ในการฝึกจิตหรือสมองนี้ทำได้โดยให้บุคคลเรียนรู้สิ่งที่ยากๆ ยิ่งยากมากเท่าไร  จิตก็จะได้รับการฝึกให้แข็งแกร่งขึ้นเท่านั้น  หลักการในการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ โดยการกระตุ้นความรู้ในตัวผู้เรียนให้แสดงออกมา

http://www.neric-club.com/data.php?page=3&menu_id=97   ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า จิตหรือสมองหรือสติปัญญา(mind)   สามารถพัฒนาให้ปราดเปรื่องได้โดยการฝึก ในการฝึกจิตหรือสมองนี้ทำได้โดยให้บุคคลเรียนรู้สิ่งที่ยากๆ ยิ่งยากมากเท่าไร จิตก็จะได้รับการฝึกให้แข็งแกร่งขึ้นเท่านั้น หลักการในการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการ เรียนรู้ โดยการกระตุ้นความรู้ในตัวผู้เรียนให้แสดงออกมา วิธีการสอนแบบโสเครติส(Socratic Method) และวิธีการสอนแบบบรรยาย   (Didactic Method) เป็นวิธีการสอนตามทฤษฏีนี้ที่ใช้คำถามเพื่อดึงความรู้ในตัวผู้เรียนออกมาให้ กระจ่างชัดและช่วยเพิ่มเติมประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียน ซึ่งเป็นวิธีการสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี

สรุป                                                                  
ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการฝึกจิตหรือสมอง (Mental Discipline) นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า  จิตหรือสมองหรือสติปัญญา(mind) สามารถพัฒนาให้ปราดเปรื่องได้โดยการฝึก เช่นเดียวกับกล้ามเนื้อซึ่งจะแข้งแรงได้ด้วยการฝึกออกกำลังกาย ในการฝึกจิตหรือสมองนี้ทำได้โดยให้บุคคลเรียนรู้สิ่งที่ยากๆ ยิ่งยากมากเท่าไร จิตก็จะได้รับการฝึกให้แข็งแกร่งขึ้นเท่านั้น
นักคิดกลุ่มนี้มีแนวคิดออกเป็น 2 กลุ่มย่อย คือ
        1  กลุ่มที่เชื่อในพระเจ้า (Theistic Mental Discipline)  นักคิดที่สำคัญของกลุ่มนี้คือ เซนต์ออกุสติน (St.Augustine)  จอห์น คาลวิน (John Calvin) และคริสเตียน โวล์ฟ (Christian Wolff)  นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อ ดังนี้
                   ความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้
- มนุษย์เกิดมาพร้อมกับความชั่ว  และการกระทำต่างๆของมนุษย์เกิดจากแรงกระตุ้นภายในตัวของมนุษย์เอง
- มนุษย์พร้อมที่จะทำความชั่วหากไม่ได้รับการอบรมสั่งสอนที่ถูกต้อง
-สมองของมนุษย์สามารถฝึกได้ ไม่ว่าจะเป็นการฝึกสมอง หรือฝึกระเบียบวินัยของจิต ซึ่งหากได้รับการฝึก
  อย่างเหมาะสมจะช่วยทำให้มนุษย์เป็นคนดีและฉลาด  เกิดความเข้มแข็ง สามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้
- การฝึกฝนสมองให้รู้จักคิด  ต้องใช้วิชาที่ยากเช่น วิชาคณิตศาสตร์ ปรัชญา ภาษาลติน ภาษากรีก และคัมภีร์ไบเบิล เป็นต้น
        2  ทฤษฎีของกลุ่มที่เชื่อในความมี่เหตุมีผลของมนุษย์ (Humanistic Mental Discipline) นักคิดคนสำคัญในกลุ่มนี้คือ พลาโต (plato) และอริสโตเติล (Aristotle) นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อดังนี้
                   ความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้
 - พัฒนาการในเรื่องต่าง ๆ เป็นความสามารถของมนุษย์ มิใช่พระเจ้าบันดาลให้เกิด
-  มนุษย์เกิดมามีลักษณะไม่ดีไม่เลว  การกระทำของมนุษย์เกิดจากแรงกระตุ้นภายใน (neutral-active)
- มนุษย์เป็นผู้มีเหตุผลพร้อมที่จะพัฒนาตนเอง หากได้รับการฝึกฝนอบรมก็จะสามารถพัฒนาศักยภาพ           
   ที่ติดตัวมา มนุษย์มีความรู้ตั้งแต่เกิด แต่ถ้าขาด การกระตุ้นความรู้จะไม่แสดงออกมา
หลักการในการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการ เรียนรู้ โดยการกระตุ้นความรู้ในตัวผู้เรียนให้แสดงออกมา วิธีการสอนแบบโสเครติส(SocraticMethod)และวิธีการสอนแบบบรรยาย(Didactic Method)เป็นวิธีการสอนตามทฤษฏีนี้ที่ใช้คำถามเพื่อดึงความรู้ในตัวผู้เรียนออกมาให้ กระจ่างชัดและช่วยเพิ่มเติมประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียน ซึ่งเป็นวิธีการสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียน รู้ได้ดี       
                                                                                                                                                                                                                                                     อ้างอิง
ทิศนา  แขมมณี.  (2553).   การสอนจิตวิทยาการเรียนรู้ เรื่องศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัด
    กระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.  (พิมพ์ครั้งที่ 13).  กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.                  ณัชชากัญญ์  วิรัตนชัยวรรณ.  ทฤษฎีการเรียนรู้. [ ออนไลน์].  เข้าถึงจาก :  
     http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486.  [2556, 10  กรกฏาคม].
ทฤษฎีการเรียนรู้.  [ ออนไลน์].  เข้าถึงจาก : http://www.neric-club.com/data.php?page=3&menu_id=97 .
     [2556, 10  กรกฏาคม].