...เมื่อไม่ได้พัฒนาที่จิตใจ จะพัฒนาด้านใดๆ ก็ไร้ผล การพัฒนาจึงต้องเริ่มที่ใจคนเพื่อเกิดผลพัฒนาที่ถาวร...

วันศุกร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ทฤษฏีการเรียนรู้พุทธินิยม(Cognitive


http://www.learners.in.th/blogs/posts/281353  ได้กล่าวไว้ว่า ทฤษฏีการเรียนรู้พุทธนิยมเน้นกระบวนการทางปัญญาหรือความคิดซึ่งเป็นกระบวนการภายในสมอง  นักคิดกลุ่มนี้เชื่อว่าการเรียนเป็นกระบวนการทางความคิดที่เกิดจากการสะสมข้อมูล การสร้างความหมาย ความสัมพันธ์ของข้อมูล และการดึงข้อมูลมาใช้ในการกระทำและการแก้ปัญหาต่างๆ การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสติปัญญาของมนุษย์ในการที่จะสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ตนเอง
ทฤษฏีการเรียนรู้พุทธนิยมมี 5 ทฤษฎี คือ
1. ทฤษฎีเกสตัลท์
               ทฤษฏีนี้จะเน้นกระบวนการคิด  การสอนโดยเสนอภาพรวมก่อนการเสนอส่วนย่อย  ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีประสบการณ์มากและหลากหลายซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนสามรถคิดแก้ปัญหา  คิดริเริ่มและเกิดการเรียนรู้แบบหยั่งเห็นได้
2.  ทฤษฎีสนาม
               ทฤษฏีนี้จะเน้นการเข้าไปอยู่ใน โลกของผู้เรียน การสร้างแรงจูงใจหรือแรงขับโดยการจัดสิ่งแวดล้อมทั้งทางกายภาพและจิตวิทยาให้ดึงดูดความสนใจและสนองความต้องการของผู้เรียนเป็นสิ่งจำเป็นในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
3.  ทฤษฎีเครื่องหมาย
               ทฤษฏีนี้จะเน้นการสร้างแรงขับและหรือแรงจูงใจให้ผู้เรียนบรรลุจุดมุ่งหมายใดๆ  โดยใช้เครื่องหมาย  สัญลักษณ์หรือสิ่งอื่นๆ ที่เป็นเครื่องชี้ทางควบคู่ไปด้วย
4.  ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา
               ทฤษฏีนี้จะคำนึงถึงพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนและจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนอย่างเหมาะสมกับพัฒนาการนั้น  ให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์และปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม  ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้คิดอย่างอิสระและสอนการคิดแบบรวบยอดเพื่อช่วยส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียน
5. ทฤษฏีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย
               ทฤษฏีนี้ จะมีการนำเสนอความคิดรวบยอดหรือกรอบมโนทัศน์  หรือกรอบแนวคิดในเรื่องใดเรื่องหนึ่งแก่ผู้เรียนก่อนการสอนเนื้อหาสาระนั้นๆ  จะช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนเนื้อหาสาระนั้นอย่างมีความหมาย

http://www.gotoknow.org/posts/398572  ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่าทฤษฏีการเรียนรู้
กลุ่มพุทธินิยม (
Cognitivism)  เน้นกระบวนการทางปัญญาหรือความคิด  ซึ่งเป็นกระบวนการภายในของสมอง  นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์ไม่ใช่เรื่องของพฤติกรรมที่เกิดจากกระบวนการตอบสนองต่อสิ่งเร้าเพียงเท่านั้น  การเรียนรู้ของมนุษย์มีความซับซ้อนยิ่งไปกว่านั้น  การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดที่เกิดจากการสะสมข้อมูล  การสร้างความหมายและความสัมพันธ์ของข้อมูลและการดึงข้อมูลออกมาใช้ในการกระทำและการแก้ปัญหาต่างๆ  การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสติปัญญาของมนุษย์ในการที่จะสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ตนเอง  ทฤษฏีในกลุ่มนี้ที่สำคัญๆ มี  5  ทฤษฏี  คือ 

-   ทฤษฎีเกสตัลท์(Gestalt Theory)  แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดซึ่งเป็นกระบวนการภายในตัวมนุษย์  บุคคลจะเรียนรู้จากสิ่งเร้าที่เป็นส่วนรวมได้ดีกว่าส่วนย่อย  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะเน้นกระบวนการคิด  การสอนโดยเสนอภาพรวมก่อนการเสนอส่วนย่อย  ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีประสบการณ์มากและหลากหลายซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนสามรถคิดแก้ปัญหา  คิดริเริ่มและเกิดการเรียนรู้แบบหยั่งเห็นได้

-   ทฤษฎีสนาม(Field Theory)  แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้เกิดขึ้นเมื่อบุคคลมีแรงจูงใจหรือแรงขับที่จะกระทำให้ไปสู่จุดหมายปลายทางที่ตนต้องการ  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการเข้าไปอยู่ใน โลกของผู้เรียน  การสร้างแรงจูงใจหรือแรงขับโดยการจัดสิ่งแวดล้อมทั้งทางกายภาพและจิตวิทยาให้ดึงดูดความสนใจและสนองความต้องการของผู้เรียนเป็นสิ่งจำเป็นในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้

-   ทฤษฎีเครื่องหมาย(Sign Theory)  ของทอลแมน(Tolman)  แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้เกิดจากการใช้เครื่องหมายเป็นตัวชี้ทางให้แสดงพฤติกรรมไปสู่จุดหมายปลายทาง  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการสร้างแรงขับและหรือแรงจูงใจให้ผู้เรียนบรรลุจุดมุ่งหมายใดๆ  โดยใช้เครื่องหมาย  สัญลักษณ์หรือสิ่งอื่นๆ ที่เป็นเครื่องชี้ทางควบคู่ไปด้วย

-   ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา(Intellectual Development Theory)  นักคิดคนสำคัญของทฤษฏีนี้มีอยู่  2  ท่าน  ได้แก่  เพียเจต์(Piaget)  และบรุนเนอร์(Bruner)  แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้เน้นเรื่องพัฒนาการทางสติปัญญญาของบุคคลที่เป็นไปตามวัยและเชื่อว่ามนุษย์เลือกที่จะรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจและการเรียนรู้เกิดจากระบวนการการค้นพบด้วยตนเอง  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้  คือ  คำนึงถึงพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนและจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนอย่างเหมาะสมกับพัฒนาการนั้น  ให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์และมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมมากๆ  ควรเด็กได้ค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง  ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้คิดอย่างอิสระและสอนการคิดแบบรวบยอดเพื่อช่วยส่งงเสริมความคิดสร้างสรรค์ของผุ้เรียน

-   ทฤษฏีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย(A Theory of Meaningful Verbal Learning)  ของออซูเบล(Ausubel)  เชื่อว่า  การเรียนรู้จะมีความหมายแก่ผู้เรียน  หากการเรียนรู้นั้นสามารถเชื่อมโยงกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่รู้มาก่อน  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้  คือ  มีการนำเสนอความคิดรวบยอดหรือกรอบมโนทัศน์  หรือกรอบแนวคิดในเรื่องใดเรื่องหนึ่งแก่ผู้เรียนก่อนการสอนเนื้อหาสาระนั้นๆ  จะช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนเนื้อหาสาระนั้นอย่างมีความหมาย
                    http://www.novabizz.com/NovaAce/Learning/Learning_Cognitive.htm  ได้รวบรวมและ    กล่าวไว้ว่า ทฤษฎีการเรียนรู้ในกลุ่มพุทธินิยมนี้ให้ความสำคัญกับความสามารถในการตั้งวัตถุประสงค์     การวางแผน ความตั้งใจ ความคิด ความจำ การคัดเลือก การให้ความหมายกับสิ่งเร้าต่างๆ ที่ได้จากประสบการณ์ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มพฤติกรรมนิยมแล้วเห็นว่ามีความแตกต่างกันดังนี้
กลุ่มพฤติกรรมนิยม : อินทรีย์สร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองอันก่อให้เกิดความพึงพอใจ
กลุ่มพุทธินิยม : อินทรีย์ต้องนำสิ่งเร้ามาคิด วิเคราะห์ และให้ความหมายเพื่อตอบสนองได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
ทฤษฎีการเรียนรู้ในกลุ่มพุทธินิยมนี้ให้ความสำคัญกับความสามารถในการตั้งวัตถุประสงค์
การวางแผน ความตั้งใจ ความคิด ความจำ การคัดเลือก การให้ความหมายกับสิ่งเร้าต่างๆ ที่ได้จากประสบการณ์ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มพฤติกรรมนิยมแล้วเห็นว่ามีความแตกต่างกันดังนี้
กลุ่มพฤติกรรมนิยม : อินทรีย์สร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองอันก่อให้เกิดความพึงพอใจ
               กลุ่มพุทธินิยม : อินทรีย์ต้องนำสิ่งเร้ามาคิด วิเคราะห์ และให้ความหมายเพื่อตอบสนองได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
                ทฤษฎีการเรียนรู้ด้วยการหยั่งรู้ (Insight Learning)
                ทฤษฎีการหยั่งรู้นี้เป็นการศึกษาทดลองของนักจิตวิทยาชาวเยอรมันซึ่งเยกว่ากลุ่มเกสตอล (Gestalt) ซึ่งประกอบด้วย นักจิตวิทยาที่สำคัญ 3 คน คือ เวอร์ไทเมอร์ คอฟฟ์ก้าและเคอเลอร์
คำว่า เกสตอล (Gestalt) หมายถึง แบบแผนหรือภาพรวม โดยนักจิตวิทยากลุ่มนี้ได้ให้ความสำคัญกับส่วนรวม หรือผลรวมมากว่า ส่วนย่อย ในการศึกษาวิจัยพบว่าการรับรู้ของคนเรามักจะรับรู้ส่วนรวมมากกว่ารายละเอียดปลีกย่อย  ในการเรียนรู้ และการแก้ปัญหา ก็เช่นเดียวกัน คนเรามักจะเรียนอะไรได้เข้าใจก็ต้องศึกษาภาพรวมก่อน หลังจากนั้นจึง พิจารณา รายละเอียดปลีกย่อย จะทำให้เกิดความเข้าใจ ในเรื่องนั้นได้ชัดเจนขึ้น
 การทดลองของกลุ่มการเรียนรู้ด้วยการหยั่งรู้ ผลการทดลองสรุปได้ว่า โดยปกติแล้วคนเราจะมีวิธีการเรียนรู้แลการแก้ปัญหา โดยอาศัยความคิดและประสบการณ์ เดิมมากว่ากาลองผิดลองถูก  เมื่อ
เมื่อสามารถแก้ปัญหาในลักษณะนั้นได้แล้ว เมื่อเผชิญกับปัญหาที่คล้ายคลึงกันก็สามารถแก้ปัญหาได้ทันที ลักษณะดังกล่าวนี้เกิดขึ้นได้ เพราะมนุษย์สามารถจัดแบบ (Pattern) ของความคิดใหม่เพื่อใช้ใน การแก้ปัญหาที่ตนเผชิญอยู่ได้อย่างเหมาะสม หลักการรับรู้ของมนุษย์ เป็นพื้นฐานที่สำคัญในการเรียนรู้มีผลให้นักการศึกษานำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างมาก ทั้งนี้เพราะการรับรู้เป็นปัจจัยสำคัญของการเรียนรู้
การรับรู้ของมนุษย์มีลักษณะเป็นอัตนัย (Subjective) และเห็นความสำคัญของส่วนรวมมากกว่า รายละเอียดปลีกย่อย
กฎการรับรู้ที่สำคัญมี 4 ข้อ ดังนี้
1. กฎแห่งความใกล้ชิด (Proximity) สิ่งเร้าที่อยู่ใกล้กัน มักจะถูกรับรู้ว่าเป็นพวกเดียวกัน
2. กฎแห่งความคล้าย (Similarity) สิ่งเร้าที่มองดูคล้ายกันจะถูกจัดว่าเป็นพวกเดียวกัน
3. กฎแห่งความสมบูรณ์ (Closure) สิ่งเร้าที่มีบางส่วนบกพร่องไปคนเราจะรับรู้โดยเติมส่วนที่ขาดหายไปให้เป็นภาพ หรือเป็นเรื่องที่สมบูรณ์
4. กฎแห่งการต่อเนื่องที่ดี (Good Continuation) สิ่งเร้าที่มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันอย่างดี จะถูกรับรู้ว่าเป็นพวกเดียวกัน
                ทฤษฎีการเรียนรู้โดยการประมวลสารสนเทศ (Information Processing Model of Learning)
นักจิตวิทยาในกลุ่มพุทธินิยมมีความสนใจว่า มนุษย์มีวิธีการรับรู้ข้อมูลใหม่อย่างไร เมื่อได้ความรู้แล้วมีวีการจำอย่างไร สิ่งที่เรียนรู้แล้วจะมีผลต่อการเรียนข้อมูลใหม่อย่างไร ด้วยความสนใจดังกล่าวจึงได้ทำ การทดลองและตั้งเป็น ทฤษฎีการเรียนรู้โดย การประมวลสารสนเทศขึ้น  ซึ่งปัจจุบันนี้กำลังได้รับความสนใจและนำไปใช้ประโยชน์ได้มากในวงการศึกษา

สรุป

                ทฤษฏีการเรียนรู้พุทธนิยมเน้นกระบวนการทางปัญญาหรือความคิดซึ่งเป็นกระบวนการภายในสมอง   เชื่อว่าการเรียนเป็นกระบวนการทางความคิดที่เกิดจากการสะสมข้อมูล การสร้างความหมาย ความสัมพันธ์ของข้อมูล และการดึงข้อมูลมาใช้ในการกระทำและการแก้ปัญหาต่างๆ  ซึ่งทฤษฎีการเรียนรู้ในกลุ่มพุทธินิยมนี้ให้ความสำคัญกับความสามารถในการตั้งวัตถุประสงค์ การวางแผน ความตั้งใจ ความคิด ความจำ การคัดเลือก การให้ความหมายกับสิ่งเร้าต่างๆ ที่ได้จากประสบการณ์
นักจิตวิทยากลุ่มเกสตัลท์ได้อธิบายรวม ๆ ว่า การเรียนรู้เกิดจากความเข้าใจ หรือรู้แจ้งแทงตลอดในสิ่งนั้น ๆ และได้กำหนดศัพท์เฉพาะสำหรับกระบวนการการใช้สติปัญญาลักษณะนี้ว่า การหยั่งรู้” (Insight) ซึ่งเป็นแม่บทของจิตวิทยากลุ่มนี้ เพียเจต์ บรุนเนอร์ และกาเย่ ได้เน้นถึงพัฒนาการการใช้ความคิดและสติปัญญาของเด็ก ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้แก่เด็ก เคิร์ท เลวิน ใช้ทฤษฎีสนาม โดยใช้พลังของความต้องการและความสนใจของผู้เรียนเป็นหลัก ทอลแมน ได้ใช้ทฤษฎีเครื่องหมาย กระตุ้นผู้เรียนและเป็นตัวชี้ทางให้แสดงพฤติกรรมไปสู่จุดประสงค์การเรียนรู้  ส่วนออซูเบล ได้ให้ความสำคัญกับทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย โดยให้มีการนำเข้าสู่บทเรียนก่อนการสอน จะสามารถช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้เร็วยิ่งขึ้น แม้ว่าบุคคลดังกล่าวจะแบ่งระยะของพัฒนาการทางสติปัญญา และลักษณะหรือเงื่อนไขของการเรียนรู้แตกต่างกันไปบ้าง ก็จะต้องยอมรับว่าพวกเขามองสิ่งเดียวกันในแง่มุมต่าง ๆ กัน ซึ่งทำให้แนวความคิดของจิตวิทยาพุทธินิยมลึกซึ้งและสมบูรณ์มากขึ้น

อ้างอิง
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม.  [ ออนไลน์].  เข้าถึงจาก http://www.learners.in.th/blogs/posts/281353.                                     [2556, 17  กรกฏาคม].
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม.  [ ออนไลน์].  เข้าถึงจาก :  http://www.gotoknow.org/posts/398572.                    
                   [2556, 17  กรกฏาคม].
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม.  [ ออนไลน์].  เข้าถึงจาก :  
                    http://www.novabizz.com/NovaAce/Learning/Learning_Cognitive.htm.
                   [2556, 17  กรกฏาคม].


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น